ก่อนอื่นต้องอธิบายคำว่าบุญ ในพระพุทธศาสนาคำว่าบุญกุศลมักเรียกควบกันไป แต่นัยยะมีความต่างอยุ่บ้าง
คือบุญคือผลแห่งความสุขน่าชื่นใจ ส่วนกุศล หมายถึง ธรรมที่เป็นเครื่องกำจัดบาปธรรมหรืออกุศลธรรม เป็นไปกับด้วยปัญญา ไม่มีโทษและนำสุขมาให้ นั่นเอง..
ทีนี้ตามธรรมชาติของคนย่อมรักสุขชังทุกข์ จึงต้องการบุญเป็นที่ตั้ง
และความต้องการนี่เองจัดเป็นตัณหาอย่างหนึ่งที่มิใช่กุศล
ถ้าทำบุญแล้วเจอความอยากเอาไว้ หรือ ตั้งเป้าหรือปักธงเอาไว้ ว่ามันต้องเป็นอย่างนี้ อย่างนั้น ทำบุญแล้ว
บุญต้องช่วยให้ชีวิตเราดีขึ้น พอมันไม่ดี หรือ ไม่ได้ดังที่ตั้งเป้าไว้ เราก็ทุกข์ใจและมาบ่นว่า บุญไม่ช่วยอะไรเลย
ก็เป็นเพราะเราไปหวังกับบุญไง
ถ้าไม่หวังแล้วจะต้องวางใจยังไง
คำตอบคือ ต้องทำบุญด้วยใจที่ศรัทธา ไม่ใช่ทำด้วยตัณหา
การที่เราทำบุญด้วยศรัทธาก็ คือทำด้วยความเชื่อมั่นว่า บุญที่ทำไปย่อมส่งผลเป็นความสุข ความเจริญอย่างแน่นอน
เพราะเราการทำบุญแล้วได้ผลเป็นความสุข แม้เราไม่เห็นในกระบวนการส่งผลของบุญด้วยตาเปล่าได้
แต่เราศรัทธาในผู้รู้ที่ได้หยั่ง หยั่งเห็นกระบวนการนี้ผ่านญาณวิถี และผู้รู้ที่ประเสริฐเป็นเลิศที่สุดที่เข้าถึงเรื่องนี้ คือ พระพุทธเจ้า ที่พระองค์ได้ตรัสว่า
“บุคคลหว่านพืช เช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น”
ศรัทธาในกระบวนการเหตุและผล เมื่อเราสร้างเหตุแห่งการทำบุญด้วยตัณหา ย่อมเกิดความคาดหวัง
หรือ ความโลภ ซึ่งเป็นกิเลศ ผลแห่งการหว่านพืชชนิดนี้ ย่อมได้ผลเป็นความทุกข์ความกังวล
แต่คนที่ทำบุญด้วยใจศรัทธานั้น ย่อมไม่คาดหวังผลเลย และปล่อยให้กระบวนการของธรรมะจัดสรร
ผลให้เหมาะสมกับเหตุ และรอเพียงแค่ปัจจัยพร้อม ก็ย่อมส่งผลให้พบความสุขได้ในวันหนึ่ง
บุญย่อมส่งผลต่อภาชนะที่เหมาะสมรองรับกับบุญนั้น
ทำบูญแบบไหนที่เรียกบุญล้วนๆ
เช่น หากเราไปเดินไปบนถนน เห็นหมากำลังหิวโซ เราซื้ออาหารให้หมากิน นั่นคือบุญล้วนๆ
เพราะใจของเราตอนนั้นตั้งใจจะเกื้อกูลต่อหมาที่หิวโหย ใจเราขณะนั้นยกระดับอยู่เหนือ กิเลสประเภทความโลภ
คือไม่เกิดความต้องการเพื่อตัวเอง หรือเพื่ออัตตาของกิเลส จึงเป็นบุญล้วนๆและย่อมส่งผลเป็นความสุข ความเจริญในชีวิต
อย่างแน่นอน และเห็นผลได้ขณะนั้นว่าเราช่วยหมาตัวนั้น ใจเราจะเบาเย็นสบาย นั่นคือผลแห่งบุญตอบให้แล้วทางใจ
ในส่วนของลาภยศต่างๆ ธรรมจะจัดสรรให้เอง ไม่ต้องไปคาดหวัง หรือตั้งตาคอยเลย เพราะผลบุญกรรมนั้นเป็นอจินไตย
ขอแค่ทำบุญแล้วศรัทธาเชื่อมั่นในความดีของเราก็พอแล้ว
ดังนั้น หากเข้าใจบุญถูกต้องแล้ว เราจะได้ทำบูญที่เป็นบุญจริงๆ คือ ทำใจให้อยู่เหนือกิเลส
หรือทำบุญเพื่อขัดเกลากิเลส บรรเทาความโลภในใจ
เมื่อใจมีความสุข เบาและอิ่มเอม ใจย่อมน้อมนำสถานการณ์ดีๆมาให้เราได้เผชิญในรูปใดรูปแบบหนึ่ง
และความต้องการนี่เองจัดเป็นตัณหาอย่างหนึ่งที่มิใช่กุศล
ถ้าทำบุญแล้วเจอความอยากเอาไว้ หรือ ตั้งเป้าหรือปักธงเอาไว้ ว่ามันต้องเป็นอย่างนี้ อย่างนั้น ทำบุญแล้ว
บุญต้องช่วยให้ชีวิตเราดีขึ้น พอมันไม่ดี หรือ ไม่ได้ดังที่ตั้งเป้าไว้ เราก็ทุกข์ใจและมาบ่นว่า บุญไม่ช่วยอะไรเลย
ก็เป็นเพราะเราไปหวังกับบุญไง
ถ้าไม่หวังแล้วจะต้องวางใจยังไง
คำตอบคือ ต้องทำบุญด้วยใจที่ศรัทธา ไม่ใช่ทำด้วยตัณหา
การที่เราทำบุญด้วยศรัทธาก็ คือทำด้วยความเชื่อมั่นว่า บุญที่ทำไปย่อมส่งผลเป็นความสุข ความเจริญอย่างแน่นอน
เพราะเราการทำบุญแล้วได้ผลเป็นความสุข แม้เราไม่เห็นในกระบวนการส่งผลของบุญด้วยตาเปล่าได้
แต่เราศรัทธาในผู้รู้ที่ได้หยั่ง หยั่งเห็นกระบวนการนี้ผ่านญาณวิถี และผู้รู้ที่ประเสริฐเป็นเลิศที่สุดที่เข้าถึงเรื่องนี้ คือ พระพุทธเจ้า ที่พระองค์ได้ตรัสว่า
“บุคคลหว่านพืช เช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น”
ศรัทธาในกระบวนการเหตุและผล เมื่อเราสร้างเหตุแห่งการทำบุญด้วยตัณหา ย่อมเกิดความคาดหวัง
หรือ ความโลภ ซึ่งเป็นกิเลศ ผลแห่งการหว่านพืชชนิดนี้ ย่อมได้ผลเป็นความทุกข์ความกังวล
แต่คนที่ทำบุญด้วยใจศรัทธานั้น ย่อมไม่คาดหวังผลเลย และปล่อยให้กระบวนการของธรรมะจัดสรร
ผลให้เหมาะสมกับเหตุ และรอเพียงแค่ปัจจัยพร้อม ก็ย่อมส่งผลให้พบความสุขได้ในวันหนึ่ง
บุญย่อมส่งผลต่อภาชนะที่เหมาะสมรองรับกับบุญนั้น
ทำบูญแบบไหนที่เรียกบุญล้วนๆ
เช่น หากเราไปเดินไปบนถนน เห็นหมากำลังหิวโซ เราซื้ออาหารให้หมากิน นั่นคือบุญล้วนๆ
เพราะใจของเราตอนนั้นตั้งใจจะเกื้อกูลต่อหมาที่หิวโหย ใจเราขณะนั้นยกระดับอยู่เหนือ กิเลสประเภทความโลภ
คือไม่เกิดความต้องการเพื่อตัวเอง หรือเพื่ออัตตาของกิเลส จึงเป็นบุญล้วนๆและย่อมส่งผลเป็นความสุข ความเจริญในชีวิต
อย่างแน่นอน และเห็นผลได้ขณะนั้นว่าเราช่วยหมาตัวนั้น ใจเราจะเบาเย็นสบาย นั่นคือผลแห่งบุญตอบให้แล้วทางใจ
ในส่วนของลาภยศต่างๆ ธรรมจะจัดสรรให้เอง ไม่ต้องไปคาดหวัง หรือตั้งตาคอยเลย เพราะผลบุญกรรมนั้นเป็นอจินไตย
ขอแค่ทำบุญแล้วศรัทธาเชื่อมั่นในความดีของเราก็พอแล้ว
ดังนั้น หากเข้าใจบุญถูกต้องแล้ว เราจะได้ทำบูญที่เป็นบุญจริงๆ คือ ทำใจให้อยู่เหนือกิเลส
หรือทำบุญเพื่อขัดเกลากิเลส บรรเทาความโลภในใจ
เมื่อใจมีความสุข เบาและอิ่มเอม ใจย่อมน้อมนำสถานการณ์ดีๆมาให้เราได้เผชิญในรูปใดรูปแบบหนึ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น